จะซื้อขายบ้านสักหลังต้องมีสัญญาซื้อขายเป็นข้อตกลงร่วมกันของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายนี้เป็นเอกสารที่ค่อนข้างเข้าใจยาก มีความซับซ้อน รายเอียดต่างเยอะ ดังนั้นก่อนที่จะการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันควรศึกษาถึงข้อตกลงและเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือเซ็นสัญญา
เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ควรทราบมีอยู่ 5 อย่างด้วยกัน
1. รายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ ของคู่สัญญา
โดยการตกลงเพื่อซื้อขายที่ดินหรือบ้านพร้อมที่ดินจะประกอบไปด้วย 2 ฝ่าย คือ ผู้ขายและผู้ซื้อ โดยในส่วนของผู้ซื้อจะต้องมีการแนบเอกสารสำเนาบัตรประชาชนพร้อมระบุชื่อนามสกุลเพื่อเป็นเอกสารแนบท้ายกับคู่สัญญา
2.ราคาบ้านและการชำระเงิน
โดยในส่วนนี้ทั้งสองฝ่ายควรมีการตกลงกันว่าจะซื้อขายในราคาเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องมีการระบุเป็นตัวเลขลงในเอกสาร และในเอกสารจะต้องมีการระบุเกี่ยวกับการชำระเงินค่างวด พร้อมกับระบุชื่อธนาคารและระบุถึงเลขที่เช็คธนาคารไว้อย่างชัดเจน
3.การโอนกรรมสิทธิ์
ถือว่าหัวใจสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายบ้านเลยก็ว่าได้ โดยในสัญญาจะต้องมีการระบุหรือกำหนดวันของการจดทะเบียนในการโอนกรรมสิทธิ์ที่แน่นอน อีกทั้งภายในสัญญาควรมีการระบุ ถึงค่าธรรมเนียมในการโอนบ้านในแบบที่ชัดเจน เพราะเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง
4.การทำผิดสัญญา
โดยในส่วนนี้เป็นการบ่งบอกและชี้แนะเมื่อฝ่ายหนึ่งหรือฝ่ายใดเกิดผิดสัญญา ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีก็คือ ผู้ซื้อไม่ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ตามเวลาที่กำหนด และกรณีที่สองก็คือ ผู้ขายไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับผู้ซื้อ จนทำให้เกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายและค่าปรับต่าง ๆ ตามมาในภายในภายหลัง
5.ข้อตกลงและเงื่อนไขส่วนอื่น ๆ
หมายถึงส่วนอื่น ๆ หรือข้อตกลงที่เพิ่มเติมขึ้นมาในส่วนของคู่สัญญา เช่นอัตราในการชำระในส่วนของดอกเบี้ยในกรณีที่เกิดการเลื่อนหรือผ่อนผันในการชำระดอกเบี้ยอาจจะมีการส่งผลกระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่าย ซึ่งผู้ขายอาจจะต้องมีการทวงถามโดยการส่งจดหมายเตือนทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนไปให้ผู้ซื้อได้รับทราบ
6.การตัดสินใจเซ็นสัญญา
เมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรับทราบและมีการตกลงในส่วนของสัญญาซื้อขายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นในสัญญา โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพร้อมพยาน 1 คน จะมีการลงชื่อเพื่อรับทราบถึงข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกัน และผู้ขายก็จะมีการมอบคู่สัญญาให้เก็บไว้คนละ 1 ฉบับ
ไม่ว่าการทำสัญญาใดก็ตาม ต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดปลีกย่อยให้ถ้วนถี่ เพราะหลังจากที่คุณจรดปากกาลงลายเซ็น สัญญาดังกล่าวจะเกิดผลทันที หากเกิดข้อผิดพลาดแม้แต่จุดเดียว ก็อาจจะทำให้มีปัญหาตามมาในภายหลังได้ โดยเฉพาะสัญญาจะซื้อจะขายที่ต้องมีผู้เสียเปรียบอย่างแน่นอน